วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทที่4

องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว





แหล่งท่องเที่ยว มีคำจำกัดความ 3 คำได้แก่


1.ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม


2.จุดหมายปลายทาง หมายถึงสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง อาจเป็นหลายๆสถานที่ต่อการเดินทางครั้งหนึ่ง


3.สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว หมายถึงสถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้คนเข้าไปเยี่ยมชม



สรุปความหมาย คือ สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปมาท่องเที่ยวหรือประกอบกิจกกรมเพื่อตอบสนองต่อจุดประสงค์ด้านความพึงพอใจ

ประเภทของแหล่งท่องเที่ยวขอบเขต อาจแบ่งได้ 2 ประเภทตามขอบเขตได้แก่

1.จุดมุ่งหมายหลัก สถานที่ที่นักท่องเที่ยวมุ่งตรงไปยังที่ๆนั้น

2.จุดมุ่งหมายรอง สถานที่แวะพักระหว่างเดินทางไปยังจุดมุ่งหมายหลักความเป็นเจ้าของ เช่นรัฐบาล,องค์กรที่ไม่หวังผลกำไร,เอกชนความคงทนถาวร แบ่งตามอายุของแหล่งท่องเที่ยว หรือกิจกรรมต่างๆเช่นวันสงกรานต์มีระยะเวลา 12-14เมษายน



การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้แบ่งแหล่งท่องเที่ยวออกเป็น 3 ประเภทได้แก่

1.แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทั้งด้านชีวภาพและกายภาพ ไม่มีต้นทุนทางการผลิตแต่มีต้นทุนในการดูแลรักษา


2.แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างและอายุ รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างออกไปเช่นโบราณสถาน ซึ่งแบ่งได้ 7 ประเภทคือ

2.1โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ มีความสำคัญสูงสุด เช่นพระบรมมหาราชวัง

2.2อนุสาวรีย์แห่งชาติ สร้างเพื่อบุคคลหรือเหตุการณ์เรื่องราวที่สำคัญ

2.3อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ เช่น พระที่นั่งอนันตสมาคม

2.4ย่านประวัติศาสตร์ คือพื้นที่ที่มีความหนาแน่นทางสถาปัตยกรรม

2.5อุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ เช่น อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา สุโขทัย

2.6นครประวัติศาสตร์แห่งชาติ เช่น จังหวัดอยุธยา

2.7ซากโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์แห่งชาติ

3.แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น พัฒนามาจากวัฒนธรรมประเพณี การดำรงชีวิตของผู้คน วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น จึงจะสามารถพัฒนาให้เป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวได้

แหล่งท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย



1.ภาคกลาง ประกอบด้วย 21 จังหวัด 1 เขตการปกครองพิเศษคือกรุงเทพมหานคร ภาคกลางเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ มีประชากรหลายเชื้อชาติเผ่าพันธ์ จึงมีงานศิลป์ผสมผสานที่งดงาม สภาพภูมิประเทศยังเอื้ออำนวยต่อกิจกรรมทางการท่องเที่ยวมากมาย และกำลังจะเป็นศูนย์รวมแฟชั่นของโลก













2.ภาคเหนือ ประกอบด้วย 17 จังหวัด มีพื้นที่ประมาณ 106 ล้านไร่ มียอดเขาที่สูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศคือดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ค้นพบโบราณสถานมากมาย มีภาษาถิ่นที่ไพเราะ

3.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 19 จังหวัด มีเนื้อที่ 1ใน3 ของประเทศไทย ค้นพบโครงกระดูก และรอยเท้าไดโนเสาร์บนแผ่นหินทรายที่อำภอภูเวียง ขอนแก่น อำเภอภูหลวง เลย และอำเภอสหัสขันธ์ กาฬสินธุ์






4.ภาคตะวันออก ประกอบด้วย 4 จังหวัด ประชากรมีอาชีพที่หลากหลาย เช่นสวนผลไม้ ยางพารา การทำประมง และมีนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เป็นแหล่งรวมแร่อัญมณีที่มีค่าของประเทศ ยังเป็นที่ตั้งของสนามบินอู่ตะเภาอีกด้วย






5.ภาคใต้ ประกอบด้วย 14 จังหวัด จังหวัดที่ใหญ่ที่สุดคือ สุราษฎร์ธานี และเล็กที่สุดคือ ภูเก็ต อากาศค่อนข้างร้อน และมีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ประเพณีมีหลากหลายเช่น โนราห์ หนังตะลุง รองเง็ง









ในประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการจัดให้เป็นมรดกโลก 5 แห่ง คือ


1.ทุ่งใหญ่ห้วยขาแข้ง ในปี พ.ศ.2535

2.อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ในปี พ.ศ.25343.

3.อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา ในปี พ.ศ.25344.

4.แหล่งขุดค้นโบราณคดีบ้านเชียง ในปี 25355.

5.ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ในปี พ.ศ.2548

คุณลักษณะที่ดีของแหล่งท่องเที่ยวจะต้องประกอบด้วย 3As คือเป็นสถานที่ที่มีความดึงดูดใจ (Attractions) มีสิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) และสามารถเข้าถึงได้ (Accessibilties)






บทที่ 3

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยว


แรงจูงใจ






แรงจูงใจของนักท่องเที่ยว หมายถึง เครือข่ายทั้งหมดที่กำหนดพฤติกรรมการท่องเที่ยว เป็นแนวคิดทางด้านจิตวิทยาและสังคมวิทยา- พลังทางด้านจิตวิทยา คือ ความต้องการทำสิ่งต่างๆ เช่น อยากว่ายน้ำ อยากปีนเขา- พลังทางด้านสังคมวิทยา คือ ความอยากมีหน้ามีตาในสังคม อยากทันสมัย อยากดูมีระดับทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว








๑. ทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น(Hierarchy Of Needs)ของ Abraham Maslow- Maslow ได้กล่าวไว้ว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการไม่สิ้นสุด ความต้องการที่เป็นตัวกระตุ้นแบ่งออกเป็น ๕ ขั้น

ขั้นที่ ๑ ความต้องการทางด้านสรีรวิทยา

ขั้นที่ ๒ ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต


ขั้นที่ ๓ ความต้องการทางด้านสังคม


ขั้นที่ ๔ ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง


ขั้นที่ ๕ ความต้องการทางด้านความสำเร็จของตนเอง ซึ่งเป็นความต้องการสูงสุดแต่ไม่ทุกคนที่จะทำสำเร็จ





๒. ทฤษฎีขั้นบันไดแห่งการเดินทาง(Travel Career Ladder)ของLundberg- Lundberg ได้กล่าวไว้ว่า การท่องเที่ยวเกิดจากความต้องการขั้นสูงสุดเพื่อตอบสนอง♦ ความต้องการพัฒนาศักยภาพของตนเอง♦ ความต้องการพัฒนาบุคลิกภาพ ♦ ความต้องการทำสิ่งที่้ท้าทาย♦ ความต้องการเห็นสิ่งที่แปลกใหม่แรงจูงใจวาระซ้อนเร้น

(Hidden Agenda)ของCromptonมี ๗ ปนระเภท ดังต่อไปนี้

๑. การหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมที่จำเจ

๒. การสำรวจและการประเมิตนเอง

๓. การพักผ่อน

๔. ความต้องการเกียรติภูมิ

๕. ความต้องการที่จะถอยกลับไปสู่สภาพดั้งเดิม

๖. การกระชับความสัมพันธ์ทางเครือญาติ

๗. การเสริมสร้างการสังสรรค์ทางสังคมแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวในทัศนะของ Swoarbroke
มี ๖ ประเภท ดังต่อไปนี้
๑. แรงจูงใจทางด้านสรีระ หรือ ทางกายภาพ

๒. แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม

๓. การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความรู้สึกบางอย่าง

๔. การท่องเที่ยวเพื่อให้ได้มาซึ่งสถานภาพ

๕. แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง

๖. แรงจูงใจส่วนบุคคลแนวโน้มของแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว



Pearce, Morrison และ Rutledge (๑๙๙๘) ได้่นำเสนอแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวไว้ ๑๐ประการ ดังต่อไปนี้
๑. แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสสิ่งแวดล้อม
๒. แรงจูงใจที่จะได้พบปะกับคนในท้องถิ่น
๓. แรงจูงใจที่จะ่เข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน
๔. แรงจูงใจที่เสริมสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว
๕. แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่สบาย
๖. แรงจูงใจที่ได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ
๗. แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี
๘. แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย
๙. แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับและสถานภาพทางสังคม
๑๐. แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตนเองตัวอย่างการวิจัยที่ใช้วิธีการศึกษาจากกลุ่มเป้าหมาย


นักเดินทางประเภทแบกเป้(Backpackers)



ได้เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆในออสเตรเลีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนิวซีแลนด์ แรงจูงใจในการเดินทางสรุปได้ ๔ ข้อ ดังต่อไปนี้
๑. การหลีกหนี (Escape) เช่น การหลีกหนีความรับผิดชอบชั่วคราวในการงาน

๒. การมุ่งเน้นสิ่งแวดล้อม เช่น การท่องเที่ยวแบบผจญภัย

๓. การทำงาน (Employment) เช่น ไปทำงานในต่างถิ่น จึงเกิดแรงจูงใจอยากท่องเที่ยว
๔. เน้นการคบหาสมาคม (Social Focus) ต้องการพบปะผู้คนใหม่ๆในต่างถิ่นโครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
๑. ระบบไฟฟ้า

๒. ระบบประปา
๓. ระบบการสื่อสารโทรคมนาค,
๔. ระบบการขนส่ง
๔.๑ ระบบการเดินทางทางอากาศ
๔.๒ ระบบการเดินทางทางบก
๔.๓ ระบบการเดินทางทางน้ำ
๕. ระบบสาธารณสุขปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค


๑. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์

๑.๑ ลักษณะภูมิประเทศ จะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกซึ่งมีได้ ๒ ลักษณะ คือ๑) การเปลี่ยนแปลงภายในเปลือกโลก เช่น ภูเขา ภูเขาไฟ ที่เกิดจากการดันตัวของ ความร้อนใต้ผิวโลก
๒) การเปลี่ยนแปลงบริเวณผิวโลก เช่น เนินทราย (Sand Dune) ในทะเลทรายเกิดจากลมพัดทรายมากองรวมกันเป็นเนิน

๑.๒ ลักษณะภูมิอากาศ สภาพอากาศที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ จะทำให้เกิดสภาพภูมิประเทศที่สวยงามต่างกัน และดึงดูดนักท่องเทียวต่างถิ่นเข้ามาท่องเที่ยวสถานที่นั้นๆได้มากขึ้น๒. ปัจจัยทางวัฒนธรรมคือ วิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคมและหลักเกณฑ์การดำเนินชีวิต ซึ่งมีการสืบทอดปฏิบัติต่อกันมา อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลา ในแต่ละชาติจะมีวัฒธรรมที่แตกต่างกัน การท่องเที่ยวโดยอาศัยปัจจัยทางวัฒนธรรม จะก่อให้เกิดการเรียนรู้วัฒนธรรมต่างๆและเกิดการแลกเปลี่ยน นำไปสู่การเกิดวัฒนธรรมใหม่ๆ ทั้งดีหรือไม่ เกิดขึ้น

395 ปี บันทึกของปินโต


บันทึกเล่มนี้เป็นความทรงจำของแฟร์เนา เมนเดซ ปินโต เรื่อง "Peregrinação" ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในปีค.ศ.1614 เป็นเรื่องเกี่ยวกับสภาพแวลล้อม ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบ-ธรรมเนียม ประเพณี และเหตุการณ์การบ้านเมืองต่างๆ รวมทั้งอัตชีวประวัติของเขาอย่างน่าตื่นเต้นและเหลือเชื่อ บันทึกของปินโตถูกอ้างอิงจากนักประวัติศาสตร์ไทยอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชนุภาพมาจนปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงบทบาทของทหารรักษาพระองค์ชาวโปตุเกตุเกสและการพระราชทานที่ดินใพวกเขาตั้งถิ่นฐานและปฏิบัติศาสนพิธีในสมัยอยุธยา



ปินโตเป็นชาวเมืองมองเตอร์มูร์เก่า ใกล้เมืองกูอิงบรา ในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวยากจน เมื่ออายุประมาณ 10 หรือ 1 ขวบจึงต้องเป็นเด็กรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ชีวิตเขาตกอยู่ในอันตรายจนต้องหลบหนีลงเรือจากเมืองกูแอดึแปดรา การผจญภัยของปินโตเกิดขึ้นเมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิว ในอินเดีย ขณะที่เขาอายุได้ 8 ปี เขาก็เดินทางกลัมาตุภูมิเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1558 รวมเป็นเวา 21 ปีของการแสวงโชคในเอเชีย ปิตโตเคยเดินทางไปในเอธิโอเปีย จีน อาณาจักรของชาวตาร์ตาร์ โคชินไชนา สยาม พะโค ญี่ปุ่น และหมู่เกาะอินเดีตะวันออกในน่านน้ำอินโดนีเซียปัจจุบัน เมื่อเขาเดินทางถึงโปรตุเกส เขาพยายามติดต่อขอรับพระราชทานบำเหน็จรางัลเนื่องจากได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อชาติและศาสนาอย่างเต็มที่ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากราชสำนัก ปินโตเคยเดินทางเข้าสยาม ครั้ง ครั้งแรกเขาเข้ามาในปัตตานีและนครศรีรรมราชก่อนค.ศ1548 และครั้งที่ 2 เขาเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช



หลังจากปินโตถึงแก่กรรม บุตรของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือเรื่อง "Peregrinação" ให้แก่นักบวชสำนักหนึ่งแห่งกรุงลิสบอน งานเขียนของปินโตถูกตีพิมออกมา และแปลเป็นภาษาต่างๆ ค.ศ.1983 กรมศิลปากรได้เผยแพร่บันทึกของปินโตบางส่วนในชื่อ "การท่องเที่ยวผจญภัยของแฟร์นังด์ มังเดซ ปินโต ค.ศ. 1537-1558" ต่อมากรมศิลปากรร่วมกับกรมวิชการกระทรวงศึกษาธิการได้ตีพิมพ์ผลงานบางส่วนของเขขาออกเผยแพร่อีกครั้ง โดยแปลจากหนุฃังสือชื่อ "Thailand and Portugal : 470 Years of Friendship"
งานเขียนของปินโตถูกนำเสนอในรูปแบบของร้อยแก้ว บางตอนก้ระบุว่าเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมาจากคำบอกเล่าและการสอบถาม บางตอนก็ระบุว่าเป็นผู้มีประสบการณ์ด้วยตนเอง จุดมุ่งหมายในการแปลหนังสือเล่มนี้จากภาษาฝรังเศษเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อต้องการให้ผู้อ่านทั่วไปเกิดความพึงพอใจและกระตุ้นให้มีการสำรวจและค้นคว้าทางภูมิศาสตร์ เรื่องราวในหนังสือเล่มยังไปสอดคล้องกับงานเขียนของนักประวัติศาสตร์ชาวโปรตุเกสหลายคนอีกด้วย แถมนักประวัติศาสตร์ไทยหลายคนเลือกใช้ข้อมูลของปินโตมาอ้างโดยตอลดและ บางส่วนของงานเขียนมีรูปแบบเป็นจดหมายติดต่อกับบุคคลจึงไม่ความมองข้าม

วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

น้ำเพชร ทัวร์








อ่าวคุ้งกระเบน ชมโชว์ปลาโลมาที่โอเอซิส
พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ แวะน้ำตกพลิ้ว



  • ระยะเวลา : 2 วัน 1 คืน, (จัดทุกวันหยุดสุดสัปดาห์)


ราคาท่านละ 3,000 บาท เท่านั้นเอง


น้ำตกลือเลื่อง เมืองผลไม้ พริกไทยพันธุ์ดี อัญมณีมากเหลือ เสื่อจันทบูรณ์ ฯ ? นี่คือคำขวัญของจังหวัดจันทบุรี เมืองที่มีเสน่ห์มากมายทั้งผลไม้นาๆชนิด แหล่งอัญมณีที่มีคุณค่า นอกจากนี้ยังมีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติทั้งขุนเขา ป่าไม้และชายฝั่งทะเล

เราจะนำท่านไปสัมผัสความยิ่งใหญ่ของจันทบุรีด้วยโปรแกรมนำเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ศึกษาธรรมชาติและนิเวศวิทยาของป่าชายเลนที่อ่าวคุ้งกระเบน สัมผัสชีวิตสัตว์ทะเลที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติ เล่นน้ำที่หาดแหลมเสด็จ ชมโชว์น่ารักๆจากปลาโลมาที่โอเอซิส ซีเวิร์ล รวมทั้งแวะชมความงามและให้อาหารปลาที่น้ำตกพลิ้ว



วันเสาร์

08:30. ออกเดินทางจากจุดนัดพบ ที่ลานจอดรถหน้าทางเข้ามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต เพื่อนั่งรถตู้ปรับอากาศมุ่งหน้าจังหวัดจันทบุรีกรณีที่ไม่สะดวก สามารถนัดเจอกัน ณ จุดที่ท่านคิดว่าสะดวกก็ได้ ทั้งนี้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกส่วนใหญ่ด้วย

11:30. ถึงที่พัก นิวแทรเวิล บีช รีสอร์ท รีสอร์ทหรูริมหาดเจ้าหลาว / เช็คอินน์

12:00. รับประทานอาหารกลางวันที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ


13:00 น. ชมสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติที่หาดแหลมเสด็จ สัมผัสชีวิตสัตว์ทะเลนานาชนิดทั้งจำพวกปลาสวยงาม ปะการัง กุ้ง กั้ง และสัตว์น้ำชนิดอื่นๆอีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีสวนรุกขชาติสำหรับนั่งเล่นพักผ่อนหย่อนใจด้วย


14:00 น . สัมผัสธรรมชาติของป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะที่จะเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ มีสะพานเดินศึกษาธรรมชาติสร้างจากไม้ตะเคียนทอง ระยะทางยาว 850 เมตร ตัดผ่านป่าชายเลนมีไม้แสม ไม้ลำพู และโกงกางขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น เป็นแหล่งเพาะพันธุสัตว์น้ำที่สำคัญ ระหว่างทางจะได้พบกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเป็นต้นว่าปูเปี้ยว ปูก้ามดาบ และปลาตีนด้วย นอกจากนี้ที่นี่ยังมีอนุสาวรีย์หมูดุด ( ปลาพะยูน ) ซึ่งแต่ก่อนเคยมีอาศัยอยู่มากมายบริเวณชายฝั่ง
อ . ท่าใหม่และจันทบุรี ปัจจุบันคงเหลือไว้แต่ความทรงจำเท่านั้น


15:30 น .กลับที่พัก พักผ่อนตามอัธยาศัย กับมีกิจกรรมทางน้ำมากมาย ได้แก่ว่ายน้ำ เล่นฟุตบอล วอลเลย์บอลชายหาด นั่งเรือกล้วย (Banana Boat) หรือจะพักผ่อนแบบสบายๆกับสิ่งอำนวยความสะดวกภายในรีสอร์ทเป็นต้นว่าสระว่ายน้ำ สนุกเกอร์ จิบเบียร์เย็นๆที่ห้องอาหารริมหาด
18:30 น . รับประทานอาหารเย็น ( เน้นซีฟู๊ด ) ที่ห้องอาหารริมหาด ท่ามกลางบรรยากาศชายทะเลยามเย็น ชมแสงจันทร์จับขอบฟ้าพร้อมกับเรือหาปลา เรือล่อปลาหมึกที่ส่องแสงไฟระยิบระยับอยู่กลางท้องทะเล

วันอาทิตย์

08:00 น. รับประทานอาหารเช้า (ABF) อิ่มแล้วเก็บสัมภาระ/ เช็คเอ้าท์


09:00 น. ออกเดินทางไปยัง Oasis Seaworld อ.แหลมสิงห์10:30 น. สัมผัสบรรยากาศสวยๆและสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายในโอเอซีสฯ เป็นต้นว่าสวนหย่อมริมทะเลสาป เกาะโอเอ สวนสมุนไพร พายเรือโลมา ชมชีวิตสัตว์ในธรรมชาติของป่าชายเลนที่สมบูรณ์อาทิปูก้ามดาบ ปูแสม ปลาตีน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีมุมชอปปิ้งเป็นซุ้มของฝากจากโอเอซีสฯและของดีเมืองจันท์ สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ พลอยแท้จากเหมือง

11:00 น. สัมผัสความน่ารักของเหล่าปลาโลมาด้วยการแสดงโชว์อันยิ่งใหญ่และตระการตาของ OASIS Seaworld
สัมผัสความเป็นหนึ่งเดียวระหว่างพี่เลี้ยงและปลาโลมา ในชุดสกีโลมา ชื่นชมพละกำลังและความแข็งแรงของโลมาในโลมาสวิงกิ้ง
สนุกสนานกับการเป็นนักเต้นเท้าไฟของโลมาในชุดโลมาแดนซ์ การแสดงอื่นๆของโลมาพันธุ์หัวบาตรและโลมาพันธ์ปากขวดกว่าสิบรายการ ต่อด้วยการแสดงวิธีฝึกปลาโลมาสีชมพูที่บ่อใหญ่ มีบริการว่ายน้ำกับปลาโลมาด้วย
12:00 น. รับประทานอาหารกลางวันบนแพท่องนที อาหารอร่อย บรรยากาศดีกลางทะเลสาป ภายในโอเอซีสฯ 12:30 น. อำลาโอเอซิสฯ เดินทางต่อไปยังน้ำตกพลิ้ว




13:00 น. ชมความงามของน้ำตกพลิ้ว น้ำตกสวยอีกแห่งของเมืองจันทน์ซึ่งตั้งอยู่ริมทาง นมัสการ สถูปพระนางเรือล่มและอลงกรณ์เจดีย์ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ภายในสถูปพระนางเรือล่มบรรจุพระ อังคารพระนางเจ้าฯด้วย เนื่องจากพระองค์เคยเสด็จประพาสน้ำตกพลิ้วเมื่อ พ.ศ. 2417 และทรงโสมนัสชื่นชมความงามตามธรรมชาติของน้ำตกพลิ้วมาก ร่วมกันทำบุญให้อาหารปลาด้วยการซื้อถั่วฝักยาวและอาหารเม็ดเลี้ยงปลาพลวงซึ่งมีอยู่ อย่างมากมายบริเวณน้ำตก



14:30 น . เดินทางกลับ แวะซื้อผลไม้เมืองจันท์ไปฝากคนทางบ้านบริเวณสามแยกท่าใหม่ เลือกซื้อผล ไม้ตามฤดูกาลนานาชนิด เป็นต้นว่าสละ ระกำ ลองกอง และผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูป จำพวกทุเรียนทอด ทุเรียนกวน ทอฟฟี่ผลไม้ นอกจากนี้ยังมีต้นพันธุ์ไม้ผลนานาชนิดไว้ จำหน่ายด้วย ถึงกรุงเทพฯประมาณ 18:00 น .





  • บริการทุกอย่างตามที่ระบุไว้ในอัตราค่าบริการข้างต้น
  • เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ปฐมพยาบาลที่จำเป็น
  • ความสนุกสนานเพลิดเพลินตลอดการเดินทาง


  • อุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัว
  • กล้องถ่ายรูป เอาไว้เก็บภาพถ่ายสวยๆและความประทับใจเอาไว้เป็นที่ระลึก
  • สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ท่านที่ไม่รับประทานอาหารชนิดใด กรุณาแจ้งให้ทางทีมงานทราบล่วงหน้า


จองทัวร์หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คุณวัชรวีร์ หมายเลขโทรศัพท์ 082-2103314,หรืออีเมล์มาที่ pet_aminook@hotmail.com.จองทัวร์ล่วงหน้าก่อนวันเดินทางอย่างน้อย 7 วันถ้ามั่นใจว่าจะไปแล้วก็ขอให้โอนเงินมัดจำล่วงหน้ามาท่านละ 1,000 บาท (บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทยสาขาพลูตาหลวง ชื่อบัญชีนายบวร ทองเขียว บัญชีเลขที่ 232-1-12893-3 พร้อมทั้งแฟกซ์สลิปใบโอน,รายชื่อคนที่จะไป, รายชื่อผู้รับผลประโยชน์มาที่ 0-3843-1532 เพื่อทำประกันชีวิต ) เป็นหลักประกันความมั่นใจและป้องกันโรคเลื่อน เราจะถือว่ามีการจองทัวร์ก็ต่อเมื่อท่านได้โอนเงินมัดจำล่วงหน้ามาให้แล้ว

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว บทที่ 1 - 2

การท่องเที่ยวคือ...มีคำอธิบายมากมาย







Holloway J. Christopher ใน The Business of Tourism .. พูดยาก ......เพราะการท่องเที่ยวเป็นรูปแบบกิจกรรมหนึ่งของนันทนาการ (Recreation)กีฬา งานอดิเรก และการใช้เวลาว่าง


•การท่องเที่ยวเกี่ยวข้องกับการเดินทาง จึงมีปัญหาว่า การเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยวต้องมีจุดประสงค์อย่างไร และเดินทางด้วยระยะทางเท่าใด



การประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องของการเดินทางและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ที่ กรุงโรม ประเทศอิตาลี พ.ศ.2506




-องค์การการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ
(The International Union of Official Travel organizations: IUOTO)



-เปลี่ยนชื่อเป็น World Tourism Organization, WTOพ.ศ.2513


- เสนอคำจำกัดความของการท่องเที่ยว




การท่องเที่ยว Tourismพ.ศ. 2506



ต้องมีองค์ประกอบหลัก 3 ประการตามข้อตกลงการประชุมขององค์การสหประชาชาติ หมายถึง


๑.การเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการชั่วคราว


๒.เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ


๓.เป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตามที่มิใช่เพื่อการประกอบอาชีพหรือหารายได้


จากนิยามการท่องเที่ยวของการประชุมในพ.ศ.2506(Holloway J. Christopher


•ให้เรียกผู้ที่เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวว่า ผู้เยี่ยมเยือน (Visitor)


จำแนกเป็น

๑.นักท่องเที่ยว (Tourist)

๒.นักทัศนาจร (Excursionist)




การจำแนกประเภทของผู้มาเยือน

การแบ่งตามช่วงเวลาที่ใช้ไปในการไปเยือนและมีการพักค้างคืน ณ สถานที่ที่ไปเยือนนั้น แบ่งออกเป็น



นักท่องเที่ยว (Tourist) หมายถึง ผู้ที่มาเยือนชั่วคราว ซึ่งพักอยู่ ณ สถานที่ที่ไปเยือนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และมีการพักค้างคืนอย่างน้อย 1 คืน แต่ไม่เกิน 1 ปี ได้แก่



-ผู้ที่ไม่มีถิ่นพำนักอยู่ในสถานที่ที่ไปเยือน


-ผู้ที่มีสัญชาติของประเทศนั้นหรือเดิมเป็นคนในถิ่นนั้น แต่ปัจจุบันไม่ได้มีถิ่นพำนักในสถานที่ที่ไปเยือนแล้ว

-ผู้ที่เป็นลูกเรือ ซึ่งไม่มีถิ่นพำนัก ณ สถานที่ที่ไปเยือน และมีการค้างคืน ณ สถานที่ที่ไปเยือน


นักทัศนาจร (Excursionist) คือผู้มาเยือนชั่วคราว ซึ่งพักอยู่ ณ สถานที่นั้นน้อยกว่า 24 ชั่วโมง และไม่พักค้างคืน ได้แก่

-ผู้โดยสารเรือสำราญหรือเรือเดินสมุทร ซึ่งมาแวะพักชั่วคราว ไม่พักค้างคืน

-ผู้ที่มาเยือนและจากสถานที่นั้นภายในวันเดียว (same-day visitor)

-ลูกเรือ ที่ไม่ได้มีถิ่นที่อยู่อาศัย ณ สถานที่นั้นๆ และแวะพักเพียงชั่วคราว ไม่เกิน 24 ชั่วโมง G3/6 (28/5/08)

แบ่งออกเป็น


-ผู้มาเยือนขาเข้า (inbound visitor) คือผู้ที่มีถิ่นพำนักในต่างประเทศและเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศอีกครั้งหนึ่ง

-ผู้มาเยือนขาออก (outbound visitor) คือผู้ที่มีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศหนึ่ง และเดินทางไปท่องเที่ยวที่ต่างประเทศ

-ผู้มาเยือนภายในประเทศ (domestic visitor) คือผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศที่ตนมีถิ่นพำนักอยู่

**อาจเรียก inbound visitor และ domestic visitor ว่า ผู้มาเยือนในประเทศ internal visitor ได้



วัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยว



มนุษย์เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวด้วยความต้องการและเป้าหมายที่แตกต่างกันไป เช่น พักผ่อน ออกกำลังกาย/เล่นกีฬา เรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม ช้อปปิ้ง เป็นต้น




การท่องเที่ยวเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและพักผ่อน (Holiday)







ความเพลิดเพลิน สนุกสนาน เป็นจุดมุ่งหมายหลักของการท่องเที่ยว เพราะนักท่องเที่ยวมีวันหยุดที่จำกัด ดังนั้นจึงพยายามไม่เอาหน้าที่การงาน ความจำเจของชีวิตประจำวันมาเกี่ยวข้อง การเดินทางไปอาบแดด เล่นน้ำตก สวนสนุก เป็นต้น

การท่องเที่ยวเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ (Business)






แม้ว่าการท่องเที่ยวทางธุรกิจดูเหมือนจะมีจุดมุ่งหมายในการทำงาน แต่การทำงานนั้นเป็นเพียงกระบวนการในการสร้างรายได้ในอนาคต อาทิ การติดต่อทางการค้า การประชุม เป็นต้น แบ่งออกเป็น

- การเดินทางเพื่อธุรกิจโดยทั่วไป

- การเดินทางเพื่อการประชุม การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล สัมมนา และจัดแสดงนิทรรศการนานาชาติ ( MICE )



การท่องเที่ยวเพื่อความสนใจพิเศษ Special Interest Tourism






เป็นการตอบสนองควยามต้องการของนักท่องเที่ยวในระดับที่ซับซ้อนมากขึ้น จากแค่เพียงต้องการพักผ่อน เพลิดเพลิน นักท่องเที่ยวต้องการที่จะเรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณี ธรรมชาติ ในระดับที่ลึก เป็นต้น


ประเภทการท่องเที่ยว

แบ่งตามสากล

1.การท่องเที่ยวภายในประเทศ (Domestic Tourism)

2.การท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ (Inbound Tourism)


3.การท่องเที่ยวนอกประเทศ (Outbound Tourism)



แบ่งตามลักษณะการจัดการเดินทาง


1.การท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะ(Group Inclusive Tour: GIT)


1.1 กรุ๊ปเหมา
1.2 กรุ๊ปจัด


2. การท่องเที่ยวแบบอิสระ (Foreign Individual Tourism: FIT)


แบ่งตามวัตถุประสงค์การเดินทาง

1.เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานและพักผ่อน

2.เพื่อธุรกิจ

3.เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ

รูปแบบของการท่องเที่ยวเพื่อความสนใจพิเศษ



การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม





เป็นการท่องเที่ยวเพื่อต้องการศึกษาวัฒนธรรมของประเทศหรือสถานที่ที่ตนเองไปเยี่ยมเยือน เพราะวัฒนธรรมเหล่านั้นมีความแตกต่างไปจากวัฒนธรรมของตนเอง ซึ่งโดยส่วนมากมักจะเป็นสิ่งที่จับต้องได้ มองเห็น เป็นวัตถุหรือเป็นการแสดง เป็นต้น




การท่องเที่ยวเชิงกีฬาและสุขภาพ





มีจุดมุ่งหมายเพื่อบำบัดโรค บำรุงสุขภาพกายและใจ อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

-การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism)

-การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sport Tourism)

-การท่องเที่ยวเชิงผจญภัย (Adventure Tourism)

การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา





เป็นการท่องเที่ยวเพื่อต้องการเรียนรู้ โดยมีการจัดการ การวางแผนล่วงหน้า มีครูผู้สอนที่ชำนาญ และมีการฝึกหัดทำตามแบบแผน ซึ่งจะเน้นที่การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
อาทิ
การเรียนทำอาหารไทย การเรียนรำไทย การเรียนภาษาไทย
การดูดาว การเรียนดำน้ำ ฯลฯ



การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์







เป็นการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการเข้าไปสัมผัสกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ประเพณีของกลุ่มคนต่างๆ โดยตรงเพื่อให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น มิใช่ผ่านวัตถุหรือการแสดงที่จัดขึ้น
อาทิ


การเยี่ยมชมหรือพำนักกับชาวไทยภูเขา ชาวบ้านพื้นเมือง Home stay ฯลฯ




วิวัฒนาการของการท่องเที่ยว









อาณาจักร บาบิโลน ( Babylonian Kingdom) และ อาณาจักรอิยิปต์ ( Egyptian Kingdom)

-การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุ ( Historic Antiquities) 2600 ปีมาแล้วในอาณาจักรบาบิโลน
-มีการจัดงานเทศกาลทางด้านศาสนา มีการพบหลักฐานจากข้อความที่นักเดินทางเขียนไว้ที่ผนัง หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ


จักรวรรดิกรีกและจักรวรรดิโรมัน

ลักษณะการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยว

สมัยกรีก

เป็นการปกครองแบบนครรัฐ (City State) ทำให้ไม่มีผู้นำสั่งการให้สร้างถนน จึงนิยมเดินทางทางเรือ
-สถานที่ที่เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้า
-เดินทางเพื่อแสวงหาความรู้ เนื่องจากสมัยกรีกนี้มีนักปราชญ์เป็นจำนวนมาก อาทิ อริสโตเติล พลาโต โซเครติส -เพื่อการกีฬา โดนเฉพาะในกรุงเอเธนส์

สมัยโรมัน


ได้รวบรวมจักรวรรดิกรีก เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร และได้นำเอาวัฒนธรรม ธรรมเนียม ความหรูหราต่างๆ ไปพัฒนาเป็นแบบโรมัน

-สมัยโรมันเป็นสมัยที่การท่องเที่ยวรุ่งเรืองที่สุดในยุคโบราณ จนมีนักวิชาการปัจจุบัน กล่าวว่า “ แม้ว่าชาวโรมันจะมิใช่ชาติแรกที่เดินทางไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ เพื่อความเพลิดเพลินก็ตาม แต่ชาวโรมันก็เป็นชนชาติแรกที่แท้จริงที่สร้างวัฒนธรรมการท่องเที่ยวระบบมวลชนเป็นครั้งแรก” (Mass Tourism)
-ชาวโรมันนิยมเดินทางไปชมความสำเร็จของวิทยาการของกรีก อนุสาวรีย์ต่างๆ รูปแกะสลัก ตลอดจนงานเทศกาล
-โครงสร้างพื้นฐานถูกสร้างขึ้นอย่างเป็นระบบ ทั้งถนนหนทาง ที่พักแรม (Inns) ร้านอาหาร ตลอดจนการรักษาความปลอดภัย



ยุคกลาง หรือ ยุคมืด ( Middle Age or Dark Age) ประมาณ ค.ศ. 500-1500

-เป็นช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำ ศาสนาเข้ามามีบทบาทในการกำหนดการดำเนินชีวิตของผู้คน
-วันหยุด (Holy Days) เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
-คนชั้นกลางและชั้นสูงนิยมเดินทางเพื่อแสวงบุญ ในระยะทางไกลในเมืองต่างๆ ตามหลักฐานที่ปรากฏเป็นนิทานเรื่อง Canterbury’s tales
-การเฟื่องฟูของอาชีพมัคคุเทศก์ G6/3-Date 9Jun08

ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ( Renaissance)

ลักษณะสำคัญของการท่องเที่ยวในยุคนี้คือ
-เกิดการพัฒนาทางด้านการค้า
-ผู้คนเริ่มใฝ่รู้เกี่ยวกับเรื่องของยุโรปสมัยก่อน โดยเฉพาะชาวอังกฤษที่ร่ำรวย นิยมส่งบุตรชายออกเดินทางไปต่างประเทศพร้อมกับผู้สอนประจำตัว (Travelling Tutors) เป็นระยะเวลา 3 ปี เรียกว่าแกรนด์ทัวร์ (Grand Tour) โดยมีจุดมุ่งหมายที่ประเทศ อิตาลี
-อาจเรียกแกรนด์ทัวร์ว่า เป็นการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาก็ได้

สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18-19

-สังคมเริ่มเปลี่ยนจากเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม เกิดการล่าอาณานิคมขึ้น
-ที่พักแรมได้รับการพัฒนามาตามลำดับ กลายมาเป็นโรงแรม แทนที่ inns ต่างๆ
-การโยกย้ายถิ่นฐาน ไปยังดินแดนใหม่ๆ นอกยุโรป อาทิ ไป อเมริกา
-มีการพัฒนาประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ กับเรือกลไฟแบบกังหันข้างผสมใบ ทำให้เกิดการเดินทางได้เร็วขึ้น
-มีการพัฒนากิจการรถไฟ และในปี ค.ศ. 1841 โทมัส คุก ( Thomas Cook) ได้จัดนำเที่ยวทางรถไฟแบบครบวงจรเป็นครั้งแรก ที่อังกฤษ ในขณะที่ เฮนรี เวลส์ ก็จัดกิจการนำเที่ยวขึ้นในอเมริกาเช่นกัน

ยุคศตวรรษที่ 20

การท่องเที่ยวยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ความสะดวกสบายมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง ที่พักแรม เงินตรา เอกสารการเดินทาง
-ผู้คนหันมานิยมการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น ทำให้การเดินทางด้วยรถไฟลดน้อยลง
-พัฒนาของอุตสาหกรรมการบิน ที่เริ่มขึ้นในยุโรป ปี ค.ศ. 1919 และเริ่มขนส่งผู้โดยสาร ในช่วงหลักสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา
-ช่วงหลังสงครามโลก ผู้คนออกเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางการสงคราม อาทิ หาดนอร์มังดีที่ฝรั่งเศส




****ต้องขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.lss.dpu.ac.th/ ครับ
ผู้จัดทำ นายวัชรวีร์ ประสานพันธ์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์