วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 3

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยว


แรงจูงใจ






แรงจูงใจของนักท่องเที่ยว หมายถึง เครือข่ายทั้งหมดที่กำหนดพฤติกรรมการท่องเที่ยว เป็นแนวคิดทางด้านจิตวิทยาและสังคมวิทยา- พลังทางด้านจิตวิทยา คือ ความต้องการทำสิ่งต่างๆ เช่น อยากว่ายน้ำ อยากปีนเขา- พลังทางด้านสังคมวิทยา คือ ความอยากมีหน้ามีตาในสังคม อยากทันสมัย อยากดูมีระดับทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว








๑. ทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น(Hierarchy Of Needs)ของ Abraham Maslow- Maslow ได้กล่าวไว้ว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการไม่สิ้นสุด ความต้องการที่เป็นตัวกระตุ้นแบ่งออกเป็น ๕ ขั้น

ขั้นที่ ๑ ความต้องการทางด้านสรีรวิทยา

ขั้นที่ ๒ ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต


ขั้นที่ ๓ ความต้องการทางด้านสังคม


ขั้นที่ ๔ ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง


ขั้นที่ ๕ ความต้องการทางด้านความสำเร็จของตนเอง ซึ่งเป็นความต้องการสูงสุดแต่ไม่ทุกคนที่จะทำสำเร็จ





๒. ทฤษฎีขั้นบันไดแห่งการเดินทาง(Travel Career Ladder)ของLundberg- Lundberg ได้กล่าวไว้ว่า การท่องเที่ยวเกิดจากความต้องการขั้นสูงสุดเพื่อตอบสนอง♦ ความต้องการพัฒนาศักยภาพของตนเอง♦ ความต้องการพัฒนาบุคลิกภาพ ♦ ความต้องการทำสิ่งที่้ท้าทาย♦ ความต้องการเห็นสิ่งที่แปลกใหม่แรงจูงใจวาระซ้อนเร้น

(Hidden Agenda)ของCromptonมี ๗ ปนระเภท ดังต่อไปนี้

๑. การหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมที่จำเจ

๒. การสำรวจและการประเมิตนเอง

๓. การพักผ่อน

๔. ความต้องการเกียรติภูมิ

๕. ความต้องการที่จะถอยกลับไปสู่สภาพดั้งเดิม

๖. การกระชับความสัมพันธ์ทางเครือญาติ

๗. การเสริมสร้างการสังสรรค์ทางสังคมแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวในทัศนะของ Swoarbroke
มี ๖ ประเภท ดังต่อไปนี้
๑. แรงจูงใจทางด้านสรีระ หรือ ทางกายภาพ

๒. แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม

๓. การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความรู้สึกบางอย่าง

๔. การท่องเที่ยวเพื่อให้ได้มาซึ่งสถานภาพ

๕. แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง

๖. แรงจูงใจส่วนบุคคลแนวโน้มของแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว



Pearce, Morrison และ Rutledge (๑๙๙๘) ได้่นำเสนอแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวไว้ ๑๐ประการ ดังต่อไปนี้
๑. แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสสิ่งแวดล้อม
๒. แรงจูงใจที่จะได้พบปะกับคนในท้องถิ่น
๓. แรงจูงใจที่จะ่เข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน
๔. แรงจูงใจที่เสริมสร้างสัมพันธภาพในครอบครัว
๕. แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่สบาย
๖. แรงจูงใจที่ได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ
๗. แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี
๘. แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย
๙. แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับและสถานภาพทางสังคม
๑๐. แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตนเองตัวอย่างการวิจัยที่ใช้วิธีการศึกษาจากกลุ่มเป้าหมาย


นักเดินทางประเภทแบกเป้(Backpackers)



ได้เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆในออสเตรเลีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนิวซีแลนด์ แรงจูงใจในการเดินทางสรุปได้ ๔ ข้อ ดังต่อไปนี้
๑. การหลีกหนี (Escape) เช่น การหลีกหนีความรับผิดชอบชั่วคราวในการงาน

๒. การมุ่งเน้นสิ่งแวดล้อม เช่น การท่องเที่ยวแบบผจญภัย

๓. การทำงาน (Employment) เช่น ไปทำงานในต่างถิ่น จึงเกิดแรงจูงใจอยากท่องเที่ยว
๔. เน้นการคบหาสมาคม (Social Focus) ต้องการพบปะผู้คนใหม่ๆในต่างถิ่นโครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
๑. ระบบไฟฟ้า

๒. ระบบประปา
๓. ระบบการสื่อสารโทรคมนาค,
๔. ระบบการขนส่ง
๔.๑ ระบบการเดินทางทางอากาศ
๔.๒ ระบบการเดินทางทางบก
๔.๓ ระบบการเดินทางทางน้ำ
๕. ระบบสาธารณสุขปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค


๑. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์

๑.๑ ลักษณะภูมิประเทศ จะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกซึ่งมีได้ ๒ ลักษณะ คือ๑) การเปลี่ยนแปลงภายในเปลือกโลก เช่น ภูเขา ภูเขาไฟ ที่เกิดจากการดันตัวของ ความร้อนใต้ผิวโลก
๒) การเปลี่ยนแปลงบริเวณผิวโลก เช่น เนินทราย (Sand Dune) ในทะเลทรายเกิดจากลมพัดทรายมากองรวมกันเป็นเนิน

๑.๒ ลักษณะภูมิอากาศ สภาพอากาศที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ จะทำให้เกิดสภาพภูมิประเทศที่สวยงามต่างกัน และดึงดูดนักท่องเทียวต่างถิ่นเข้ามาท่องเที่ยวสถานที่นั้นๆได้มากขึ้น๒. ปัจจัยทางวัฒนธรรมคือ วิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคมและหลักเกณฑ์การดำเนินชีวิต ซึ่งมีการสืบทอดปฏิบัติต่อกันมา อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามเวลา ในแต่ละชาติจะมีวัฒธรรมที่แตกต่างกัน การท่องเที่ยวโดยอาศัยปัจจัยทางวัฒนธรรม จะก่อให้เกิดการเรียนรู้วัฒนธรรมต่างๆและเกิดการแลกเปลี่ยน นำไปสู่การเกิดวัฒนธรรมใหม่ๆ ทั้งดีหรือไม่ เกิดขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น